การเขียนและหลักการเขียนโครงเรื่อง🐱

การเขียน คือ การถ่ายทอดความรู้ จินตนาการ ความรู้สึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

ความสำคัญของการเขียน
การเขียนเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารแสดง ความรู้ ความคิด ความรู้สึกเป็นลายลักษณ์อักษร

จุดประสงค์ของการเขียน
1.เพื่อบอกเล่าเรื่องราว     2.เพื่ออธิบายความ
3.เพื่อโฆษณาจูงใจ          4.เพื่อปลุกใจ
5.เพื่อแสดงความคิดเห็น  6.เพื่อสร้างจินตนาการ
7.เพื่อล้อเลียน.                 8.เพื่อประกาศให้ทราบ
9.เพื่อวิเคราะห์.                10.เพื่อวิจารณ์
11.เพื่อเสนอข่าวสาร.       12.เพื่อกิจธุระ

หลักการเขียน
1.มีความถูกต้อง
2.มีความชัดเจน
3.มีความกระชับและเรียบง่าย
4.มีความประทับใจ
5.มีความไพเราะทางภาษา
6.มีความรับผิดชอบ

รูปแบบการเขียน
การเขียนมี2ประเภทได้แก่
1.การเขียนร้อยแก้ว
2.การเขียนร้อยกรอง

การเขียนที่ดี
-บอกแหล่งข้อมูลที่มาให้ชัดเจน
-เขียนตรงจุดประสงค์
-เชื่อถือได้

ขั้นตอนการเขียน
1.กำหนดจุดประสงค์
2.เลือกเรื่องที่จะเขียน
3.กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการเขียน
4.เขียนโครงเรื่อง
5.หาแหล่งข้อมูล
6.เรียบเรียงเนื้อหา
7ตรวจทานแก้ไข

หลักการเขียนโครงเรื่อง
การเขียนโครงเรื่องเป็นการกำหนดแนวทางการเขียน การเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับความคิด และการจัดลำดับหัวข้อ หลังจากที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูล

รูปแบบการเขียนโครงเรื่อง

1. โครงเรื่องแบบคร่าวๆ เป็นการเขียนโครงเรื่องอย่างคร่าว ๆ ด้วยคำหรือวลีอย่างหยาบ ๆ เพื่อวางแนวเรื่องที่สั้น ๆ เรียงลำดับลดหลั่นกันมา โดยอาจจัดเป็นหัวข้อใหญ่และมีหัวข้อย่อยก็ได้

2. โครงเรื่องแบบหัวข้อ โครงเรื่องแบบนี้เขียนด้วยคำวลีสั้น ๆ หรืออนุประโยคที่ไม่ได้ความครบถ้วนในตัวเอง และมีตัวเลขหรืออักษรย่อกำกับประเด็นทุกประเด็นที่สังเขปด้วยคำวลีหรืออนุประโยคนั้น ๆ

3. โครงเรื่องแบบประโยค โครงเรื่องแบบนี้เขียนด้วยข้อความซึ่งเป็นประโยคที่สมบูรณ์และชัดเจน มีเลขหรืออักษรย่อกำกับประโยคทุกประโยคที่เป็นประเด็นของเรื่องนั้น

วิธีการเขียนโครงเรื่อง
1.รวบรวมข้อมูล
2.จัดหม่วดหมู่
3.จัดลำดับความคิด
4.เขียน

แนวทางการเขียนโครงเรื่อง
1.  การประมวลความคิด
2.  การจัดสรรความคิด
3.  การจัดหมวดหมู่หรือแยกประเภทความคิด 

4.  การเขียนโครงเรื่อง 

 

ความคิดเห็น